ประกันภัยภาคบังคับ พ.ร.บ
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือที่เรียกกันว่า “พ.ร.บ.” คือ การทำประกันภัยรถยนต์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองประชาชน โดยให้ค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต ที่เรียกว่าประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ เนื่องจาก บังคับ ให้ผู้ขับขี่ทุกประเภททำประกันภัย พ.ร.บ. หากฝ่าฝืนกฎหมายกำหนดโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท โดยมีการ คุ้มครองดังนี้
ความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์
บริการต่อภาษีรถยนต์
แอดไลน์สอบถาม

สอบถามข้อมูลเพิ่ม
ธรรมศักดิ์  ทรัพย์กิตติไพศาล




  ความคุ้มครอง
วงเงินความคุ้มครอง
(บาท/คน)



  1. จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด

     1.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (ตามจริง)30,000 
     1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร35,000 
    
 
  2. ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับผู้ประสบภัย (จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายละเมิด) 

  2.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บไม่เกิน 80,000 บาท
    
  2.2 การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง500,000
    
  2.3 สูญเสียมือสองข้างตั้งแต่ข้อมือหรือแขนสองข้าง หรือเท้าสองข้างตั้งแต่ข้อเท้า
หรือขาสองข้าง หรือสายตาสองข้าง (ตาบอด)
500,000
    
  2.4 สูญเสียมือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ แขนหนึ่งข้าง เท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า ขาหนึ่งข้าง
สายตาหนึ่งข้าง (ตาบอด) ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป
500,000
    
  2.5 ทุพพลภาพอย่างถาวร  ที่ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้300,000
    
  2.6 สูญเสียมือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ หรือแขนหนึ่งข้าง หรือเท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า
หรือขาหนึ่งข้างหรือสายตาหนึ่งข้าง (ตาบอด) กรณีใดกรณีหนึ่ง
250,000
    
  2.7 หูหนวก เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
หรือความสามารถสืบพันธ์ุ จิตพิการอย่างติดตัว
250,000
    
  2.8 การสูญเสียอวัยวะอื่นใดที่กระทบต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุขของผู้ประสบภัย
เช่น การสูญเสีย ม้าม ปอด ตับ ไต ฟันแท้ทั้งซี่ตั้งแต่ 5 ซี่ขึ้นไป หรือกรณีกะโหลกศีรษะ
ถูกทำให้เสียหายเป็นเหตุให้ต้องใช้กระโหลกเทียม เป็นต้น
250,000
    
  2.9 สูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว200,000
    
  2.10 ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน กรณีเข้าพักรักษาพยาบาล  
ในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน
สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท
    
 หมายเหตุ
 ผู้ประสบภัย หมายรวมถึง ผู้ขับขี่ที่ถูกละเมิด ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก
 ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิด หรือ ไม่มีผู้ใดต้องรับผิดตามกฎหมายจะได้รับเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
 จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย (รายละเอียดในกรมธรรม์)
 สรุป พ.ร.บ. โดย มีวงเงินคุ้มครอง ดังนี้
    ค่ารักษาพยาบาล  ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อคน
    กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร  ไม่เกิน 500,000 บาท ต่อคน
    เงินชดเชยรายวัน (ผู้ป่วยใน)  ไม่เกิน 200 บาท ต่อวัน (ระยะเวลารวมไม่เกิน 20 วัน) 
    วงเงินความคุ้มครองต่อครั้ง  ไม่เกิน 5,000,000 บาท
 ขั้นตอนเคลม พ.ร.บ
 แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวัน
 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล (เมื่อการรักษาเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมขอเอกสารจากโรงพยาบาลด้วยนะ)
 นำส่งเอกสารต่อบริษัท ประกันภัยที่ซื้อ พ.ร.บ. เพื่อขอเบิกค่ารักษาพยาบาล ดังนี้
กรณีบาดเจ็บ
กรณีเสียชีวิต
บัตรประชาชน (ผู้ขับขี่ และผู้บาดเจ็บ)บัตรประชนผู้ขับขี่
ใบขับขี่ (ผู้ขับขี่)สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ขับขี่)
สำเนาทะเบียนรถสำเนาทะเบียนรถ
สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ขับขี่ และผู้บาดเจ็บ)หน้าตาราง พ.ร.บ.
หน้าตาราง พ.ร.บ.บันทึกประจำวันตำรวจ
บันทึกประจำวันตำรวจใบมรณะบัตร
ใบเสร็จค่ารักษา (ตัวจริง)ใบชันสูตรพลิกศพ หรือใบรับรองการตาย
ใบรับรองแพทย์บัตรประชน + ทะเบียนบ้าน (ผู้เสียชีวิต)

บัตรประชาชน+ทะเบียนบ้าน ผู้รับผลประโยชน์
 ผู้ใช้รถควรรู้
  .. เกิดอุบัติเหตุจากรถ เบิก พ.ร.บ. ก่อนเสมอ
  .. เกิดเหตุจากรถใช้ พ.ร.บ. รถเราขับมา นั่งมา เบิกได้ทันที ไม่ต้องรอถูกผิด
  .. เมา ไม่มีใบขับขี่ ถ้าเกิดเหตุ ทั้งผิดและถูก พ.ร.บ. คุ้มครอง 100%
  .. รักษาด้วย พ.ร.บ. เข้าได้ทุกโรงพยาบาล ทั้งรัฐ และเอกชน
  .. ถูกรถชนไม่ว่าจะเดินถนน ซ้อนท้าย ขับขี่ สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ แม้ไม่มี พ.ร.บ
  .. พ.ร.บ. ขาดแม้แต่วินาทีเดียว ก็ไม่คุ้มครอง
  .. รถที่ไม่ได้ต่อทะเบียน ก็สามารถทำ พ.ร.บ. เพื่อให้มีความคุ้มครองเมื่อประสบภัยได้
  .. ขับรถที่ไม่มี พ.ร.บ. ถูกจับ ปรับได้สูงสุด 10,000 บาท ทั้งคนขับ และเจ้าของรถ
              
เว็บไซต์นี้เป็นของนายหน้าประกันวินาศภัย
บริหารโดย นายธรรมศักดิ์ ทรัพย์กิตติไพศาล
เลขที่ใบอนุญาติ : 6 1 0 4 0 3 5 5 2 7
สถิติเข้าชมเว็บไชต์ 
วันนี้: 1  เมื่อวาน: 28 
เดือนนี้: 2012 ปีนี้: 6212  
ทั้งหมด: 113541